สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีในที่ทำงานท่ามกลางวิกฤต

          แน่นอนว่า ในโลกที่เผชิญกับความวิกฤตหลายด้าน โดยเฉพาะด้านสุขภาพ องค์กรและบริษัท จะดูแลชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีให้กับพนักงานได้อย่างไร ในช่วงโควิดที่ผ่านมา เราจะเห็นได้ว่า หลายบริษัทก็มีประกันโรคโควิดให้ส่วนหนึ่ง แต่ในหลายๆ ที่ ก็มักจะมีประกันสุขภาพอื่นๆ ร่วมด้วย ซึ่งเป็นเรื่องที่ดีมาก ที่จะดูแลเอาใจใส่พนักงาน ให้มีสุขภาพแข็งแรงอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นโรคจากสถานการณ์โรคระบาด หรือโรคที่เกิดจากการทำงาน องค์กรควรให้ความสำคัญกับเรื่องนี้

ประโยชน์ของสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี

          แน่นอนว่า การดูแลสุขภาพของพนักงาน คือการดูแลชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีในระหว่างทำงานให้กับพนักงานด้วย ทำให้พนักงานรู้สึกปลอดภัย และมีความมั่นคงในชีวิต ข้อดีของการดูแลสุขภาพของพนักงาน มีดังนี้

  1. ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน เมื่อพนักงานมีสุขภาพที่ดีเสมอ เราจะเห็นได้ว่า ความแข็งแรงด้านสุขภาพ จะส่งเสริมให้พนักงาน ทำงานได้ดี มีประสิทธิภาพมากขึ้น
  2. ช่วยสร้างสภาพแวดล้อมการทำงาน เป็นส่วนหนึ่งที่ส่งผลมาจากสุขภาพกาย และสุขภาพใจของพนักงานดี ก็ตะทำให้สภาพแวดล้อมของที่ทำงานดีตามไปด้วย เพราะจะมีแต่คนสุขภาพแข็งแรง ไม่มีโรคติดต่อใดๆ เข้ามาในที่ทำงาน
  3. ช่วยพนักงานพร้อมทำงานเสมอ สุขภาพดี ย่อมทำให้พนักงานรู้สึกสบายใจที่จะทำงาน พร้อมที่จะทำงานให้กับองค์กรได้อย่างทุ่มเท เพราะมีประกันสุขภาพที่รองรับ และตรวจเช็คสุขภาพให้เสมอ
  4. ช่วยดึงดูดพนักงานใหม่ การมีสวัสดิการการดูแลสุขภาพให้กับพนักงาน ส่งผลให้พนักงานใหม่ๆ มีความมั่นใจ และอยากเข้ามาร่วมงานมากขึ้น ทำให้เห็นว่า บริษัทดูแลใส่ใจดี

สวัสดิการเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีในที่ทำงาน ควรได้อะไรบ้าง

          นอกจากการดูแลสุขภาพ เป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญ ก็ยังมีสวัสดิการอื่นๆ ที่ส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดี ในที่ทำงานด้วย ซึ่งสวัสดิการเหล่านั้น ได้แก่

  1. ประกันชีวิต ไม่มีใครรู้ ว่าการทำงาน อาจจะเกิดอะไรขึ้นระหว่างการทำงาน ซึ่งการมอบประกันชีวิตให้ ก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน ทำให้พนักงานมีหลักประกันรองรับ หากเป็นอะไรไป ยังมีประกันชีวิตให้กับตัวเอง และครอบครัวไม่ลำบาก
  2. วันลาป่วย ลาคลอดที่โปร่งใส หลายบริษัทลาป่วยยาก และลาคลอดก็แทบจะให้เวลาน้อย ถ้าบริษัททำตามมาตรฐานและใส่ใจอย่างโปร่งใส โดยออกแบบการลาป่วย โดยไม่ต้องยื่นใบรับรองแพทย์ และวันลาคลอดได้ตามกำหนด รวมถึงให้สวัสดิการไปถึงคุณพ่อที่สามารถลาหยุดเลี้ยงลูกได้ ก็จะได้ใจพนักงานมากขึ้น พนักงานก็จะพร้อมกลับมาทำงานอย่างมีความสุข *กรณีลาป่วยดูแต่ละบุคคลไปว่าป่วยมาก ป่วยมาก แต่ให้ตามสิทธิการลาที่มี*
  3. การดูสุขภาพจิต หลายบริษัท พนักงานทำงานเครียดหนัก จนเป็นซึมเศร้ากันเยอะ บั่นทอนสุขภาพสุดๆ บริษัทอาจจะต้องเพิ่มสวัสดิการ ของการดูแลสุขภาพจิตเพิ่ม มีพบจิตแพทย์ ที่จะช่วยแก้ปัญหาภาวะจิตใจ และความวิตกกังวล ทำให้พนักงานสามารถหลุดพ้นจากความเครียด และมีวิธีแก้ปัญหาการทำงานที่ดีได้
  4. การตรวจสุขภาพประจำปี ควรมีทุกบริษัท เพราะสุขภาพของพนักงานแต่ละปี อาจทรุดโทรมลงจากการทำงานได้ อย่างน้อยได้ตรวจสุขภาพ หรือฉีดวัคซีนป้องกันโรคไว้ พนักงานก็อุ่นใจ ว่าองค์กรพร้อมดูแลสุขภาพของพนักงานไม่ให้เจ็บป่วย
  5. มีอาหารสำหรับพนักงาน หลายบริษัท พนักงานไม่ต้องเสียเงินซื้ออาหารกลางวัน หรือแม้กระทั่งอาหารเช้าเอง บริษัทมีสวัสดิการ เลี้ยงอาหารฟรีให้กับพนักงาน มีเมนูที่ไม่ซ้ำให้เลือกแต่ละวัน และต้องเป็นอาหารที่มีโภชนาการดีด้วย
  6. ค่ารักษาพยาบาลสำหรับครอบครัวพนักงาน ปัจจุบันไม่ใช่แค่ราชการแล้ว บริษัทเอกชนหลายแห่ง ก็ใส่ใจครอบครัวของพนักงาน โดยมีสวัสดิการครอบคลุมค่ารักษาบุคคลในครอบครัวตามเงื่อนไข เพื่อให้พนักงานรู้สึกว่า องค์กรเป็นครอบครัวเดียวกัน

สวัสดิการด้านสุขภาพ และความเป็นอยู่ที่ดีในที่ทำงาน เป็นสิ่งจำเป็นในการส่งเสริมความสุขของพนักงาน ดังนั้น ถ้าอยากให้พนักงานรักองค์กร และทุ่มเทการทำงานแบบระยะยาว ก็ควรใส่ใจด้านสุขภาพและความสุขของพนักงานให้ดีที่สุด

หากใครสนใจที่จะเรียนรู้ด้านสวัสดิการสุขภาพพนักงาน เชิญมารับฟัง หัวข้อ How to Ensure Health & Wellbeing at Work in a World of Polycrisis?”งานนี้ พบกับ ดร.นพ.เจตน์ รัตนจีนะ อาจารย์แพทย์เฉพาะทางด้านโรคจากการทำงานและการสร้างเสริมสุขภาพในองค์กร คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คุณบุญเกียรติ เมธีทัศนีย์ Group Director-Corporate Human Resource บริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด และคุณธานัท รักเพชร รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ – Human Resources Business Partner บริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน)

พบกันที่งาน Thailand HR Day 2023

วันที่ 16-17 พฤศจิกายน 2023

ณ Centara Grand at Central Plaza Ladprao Bangkok

ดูข้อมูลเพิ่มเติม https://ldforum.pmat.or.th/       

#ThailandHRDay2023 #PolycrisisManagement #HRParadoxes #HRFutureofwork #HRInnovation

Scroll to Top