สร้างสมดุลในองค์กร ด้วยระบบค่าตอบแทนที่ใส่ใจพนักงาน

สร้างสมดุลในองค์กร ด้วยระบบค่าตอบแทนที่ใส่ใจพนักงาน

          องค์กรดี พนักงานก็อยากทำงานด้วย และถ้าค่าตอบแทนดีด้วย พนักงานก็ยิ่งอยากอยู่ด้วยกันไปยาวๆ แน่นอนว่าทุกบริษัทมีค่าตอบแทน เงินเดือน สวัสดิการที่แตกต่างกันออกไป บางที่ให้ไม่เยอะ บางที่ก็ให้เยอะมากจนหลายคนต้องยกนิ้วให้ ว่าบริษัทนี้ตอบแทนพนักงานได้ยอดเยี่ยมจริงๆ ดังนั้น ทุกบริษัท ถ้าจะซื้อใจพนักงาน นอกจากจะได้พนักงานที่ดี ตอบโจทย์แล้ว หากสร้างสมดุลในองค์กร ด้วยระบบค่าตอบแทนที่ใส่ใจพนักงานด้วย ก็ยิ่งทำให้พนักงานรักองค์กร และพร้อมขับเคลื่อนองค์กรให้ก้าวหน้ามั่นคงต่อไปได้ เรามาดูกันว่า ระบบค่าตอบแทนที่สมดุลกับชีวิตพนักงาน ควรมีหลักอะไรบ้าง

ค่าตอบแทนคืออะไร?

          ค่าตอบแทน (Compensation) คือ ค่าใช้จ่ายส่วนต่างๆ ที่องค์กรจะต้องจ่ายให้พนักงาน ทั้งในแบบที่เป็นตัวเงินประจำ เงินพิเศษ หรือเป็นค่าตอบแทนอื่นๆ ที่ไม่ใช่ตัวเงิน เพื่อเป็นการตอบแทน ในความตั้งใจของพนักงาน ที่มีความรับผิดชอบต่อตำแหน่งหน้าที่ สร้างแรงจูงใจให้พนักงานทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีให้กับพนักงาน โดยการกำหนดค่าตอบแทน มีหลักการ ดังนี้

  1. ค่าตอบแทนพอเพียง (Adequacy) เป็นการกำหนดค่าตอบแทน ที่ควรตกลงร่วมกันตั้งแต่รับเข้าทำงาน เพื่อให้พึงพอใจทั้งนายจ้าง และลูกจ้าง โดยค่าใช้จ่ายจะต้องกำหนดอัตราจ้างไม่น้อยกว่าระดับต่ำสุด ที่ลูกจ้างควรได้รับตามมาตรฐานสังคม และตำแหน่งที่ได้รับมอบหมาย ให้พอเพียงสำหรับการดำรงชีวิต ซึ่งบางองค์กร ก็ไม่ได้จ่ายที่ระดับขั้นต่ำ สามารถจ่ายสูงกว่ามาตรฐานได้ ตามลักษณะงาน
  2. ค่าตอบแทนที่เป็นธรรม (Equity) แน่นอนว่า ค่าตอบแทนที่ได้ แต่ละองค์กรจะต้องให้ความเป็นธรรม ตามสิ่งที่พนักงานควรได้รับ มีความเท่าเทียมกันสำหรับคนที่มีความรู้ ความสามารถ วุฒิการศึกษา และประสบการณ์เท่ากัน ทำงานในตำแหน่งที่ความยากง่ายใกล้เคียงกัน
  3. ค่าตอบแทนที่สมดุล (Balance) ในการพิจารณาค่าตอบแทนให้กับพนักงาน ที่ประเมินแล้วว่าสมควรได้รับค่าตอบแทนที่ดี ก็ต้องแบ่งสัดส่วนที่สมดุลด้วย ไม่ว่าจะเป็นเงินเดือน เงินพิเศษ สวัสดิการ ต้องประเมินให้สมดุลทั้งค่าตอบแทน และงานที่ทำ
  4. ค่าตอบแทนความมั่นคง (Security) เป็นค่าตอบแทนที่ควรพิจารณาจ่ายให้พนักงาน ในด้านของสุขภาพและความปลอดภัย สำหรับพนักงานที่มีความเสี่ยงในการทำงาน และควรมีสวัสดิการอื่นๆ เช่น การประกันชีวิต การประกันสุขภาพ เงินสะสมต่างๆ เป็นต้น
  5. ค่าตอบแทนเพื่อให้เกิดแรงจูงใจ (Incentive) การที่จะจูงใจพนักงานให้มีกำลังในการอยากทำงานต่อไปได้ ก็ต้องมีการประเมินคุณภาพ ความรู้ ความสามารถของแต่ละคน และต้องมีกำหนดให้เลื่อนเงินเดือนประจำปี โบนัสประจำปี และเบี้ยขยัน หรือมีการเลื่อนตำแหน่งพร้อมเงินเดือน เมื่อทำงานสำเร็จตามเป้าหมาย สิ่งเหล่านี้ ก็จะทำให้พนักงานเกิดแรงจูงใจในการพัฒนาตัวเองด้วย
  6. ค่าตอบแทนที่ต้องควบคุม (Control) แม้องค์กรจะต้องทุ่มเทจ่ายค่าตอบแทนให้พนักงานอย่างจุใจได้มากเท่าไหร่ แต่ก็ต้องสามารถควบคุมให้อยู่ในกรอบของงบประมาณได้ด้วย ว่ามีความสามารถในการจ่ายประมาณไหน เพื่อให้สอดรับกับต้นทุน กำไร ให้สามารถขยายธุรกิจต่อไปได้

สำหรับระบบค่าตอบแทนแล้ว แต่ละที่ ก็ต้องมีการกำหนดที่แตกต่างกันออกไป แต่สิ่งหนึ่งที่สำคัญเลย คือต้องสร้างสมดุลของค่าตอบแทนให้กับพนักงาน และการเติบโตขององค์กรได้ เพื่อให้เกิดความพึงพอใจทั้งสองฝ่าย

หากใครสนใจที่อยากเรียนรู้และเข้าใจการสร้างสมดุลในองค์กร ด้วยระบบค่าตอบแทนที่ใส่ใจพนักงาน เชิญมารับฟัง หัวข้อ Creating a Compensation System that Cares for and Balances Employee, Organizational, and Social” งานนี้ พบกับ คุณวิศรุต รักษ์นภาพงศ์ Managing Director กรรมการผู้จัดการ บริษัท ฮิวแมน อินเทเลคชวล แมเนจเมนท์ จำกัด ที่จะมาแชร์ประสบการณ์ดีๆ ให้กับคนที่อยากเติบโตในองค์กร และช่วยให้องค์กรก้าวหน้า ด้วยระบบค่าตอบแทนที่ดี

พบกันที่งาน Thailand HR Day 2023

วันที่ 16-17 พฤศจิกายน 2023

ณ Centara Grand at Central Plaza Ladprao Bangkok

ดูข้อมูลเพิ่มเติม https://ldforum.pmat.or.th/       

#ThailandHRDay2023 #PolycrisisManagement #HRParadoxes #HRFutureofwork #HRInnovation

Scroll to Top